ไฟไหม้ เพลิงไหม้ อัคคีภัย ถือว่าเป็นภัยที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในทุกปี แค่เพียงในครึ่งปีที่ผ่านมา ก็เกิดเพลิงไหม้ไปแล้วกว่าหลายแห่งด้วยกัน และทุกครั้งก็จะสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน ไม่มากก็น้อย อย่างล่าสุดเกิดเหตุไฟไหม้ ชั้น 33 อาคาร ENCO A ศูนย์เอเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน ถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร ล่าสุดที่ผ่านมา หลังจากเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ผับชลบุรี Moumtain B ที่ตั้งอยู่บริเวณปากซอยเขาหมอน ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากไม่กี่วันที่ผ่านมา และในเวลาใกล้เคียงกันก็เกิดไฟไหม้ตึก JUSMAG THAI ข้างสถานทูตเยอรมันนี เขตสาทร แต่ยังนับว่าโชคดี ที่เหตุการณ์ไฟไหม้อาคาร ENCO A และตึก JUSTMAGTHAI ไร้ผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ
เนื่องจากเกิดช่วงเวลากลางวัน และเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเพลิงไหม้ได้ทัน
มีหลายเหตุการณ์เพลิงไหม้ที่สร้างความเสียหายไม่น้อย จนกลายเป็นโศกนาฎกรรมที่คนไทยจะต้องจำไปอีกนาน แต่ก็ดูเหมือนว่าจะเกิดซ้ำรอยซ้ำๆ ด้วยเหตุผลเดียวกันเสียส่วนใหญ่นั่นคือ “ระบบไฟฟ้า” ที่มาจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไร้มาตรฐาน หรือไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟฉุกเฉิน เราลองมาย้อนดูบางเหตุการณ์เพลิงไหม้ที่ยังคงเป็นฝันร้าย ด้วยสาเหตุที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น มีเหตุการณ์ใดบ้าง
เหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ
โรงงานเม็ดพลาสติกย่านกิ่งแก้ว ได้เกิดการระเบิดจนลุกลามกลายเป็นเพลิงไหม้นานกว่า 7 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 โดยความเสียหายไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้วสูญสิ้นไปกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้วเกิดจาก ไฟฟ้าลัดวงจร และเนื่องจากในโรงงานประกอบไปด้วยสารเคมีและวัสดุไวไฟ ทำให้เพลิงลุกโหมกระหน่ำและไหม้ลามอย่างรวดเร็ว
เหตุการณ์ไฟไหม้สำเพ็ง ร้านค้าตึกพาณิชย์ เขตสัมพันธวงศ์
เนื่องจากเป็นอาคารพาณิชย์ติดกันหลายคูหา ทำให้ไฟไหม้ลุกลามต่อกันอย่างรวดเร็ว อีกทั้งแต่ละหลังยังมีวัสดุเชื้อเพลิงอย่างดี เนื่องจากเป็นแหล่งค้าขายขนาดใหญ่ เหตุการณ์ครั้งนี้นอกจากจะสร้างความเสียหายให้แก่พ่อค้า แม่ค้า และผู้อาศัยในบริเวณนั้นแล้ว ยังส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตถึง 2 ราย โดยสาเหตุมาจาก หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิด ซึ่งเกี่ยวโยงกับหม้อแปลงเก่า อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด และเมื่อเกิดความร้อนจัดของน้ำมันในหม้อแปลง และเจอกับกระแสไฟที่ลัดวงจร ก็จะทำให้หม้อแปลงระเบิดได้
เหตุการณ์เพลิงไหม้ซานติก้าผับ กรุงเทพฯ
เมื่อสถานที่เคาท์ดาวน์รับปีใหม่ ต้องกลายเป็นสุสานที่คร่าชีวิตนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติไปมากกว่าหกสิบกว่าคน และผู้บาดเจ็บอีกมากมาย กลายเป็นโศกนาฎกรรมแห่งปี 2551 ด้วยคนจำนวนมากถึง 1,000 คน ที่เดินทางมาเที่ยวฉลองรับปีใหม่ยังซานติก้าผับ โดยต้นเหตุไฟไหม้ซานติก้าผับในครั้งนั้น เกิดจากสเปเชียลเอฟเฟกต์ของเวทีและระบบไฟฟ้า ไม่ใช่จากพลุกระดาษที่ตำรวจได้ตั้งข้อกล่าวหานักร้องนำวงหนึ่งที่ทำการจุดในคืนนั้น จากการตรวจสอบภายในซานติก้าผับพบว่า ไม่มีแบบแปลนแผนผัง ประตูหนีไฟมีแค่ 2 ทางแต่ติดเหล็ดดัดด้านนอก และการติดตั้งไฟฟ้าในอาคารไม่ได้มาตรฐาน
ซึ่งหลายเหตุการณ์และโศกนาฎกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่ล้วนมาจาก “ระบบไฟฟ้า” ใช้วัสดุราคาถูกที่ไม่มีคุณภาพ ใช้อุปกรณ์เก่า เช่น คัตเอาท์แบบใช้มือดึงขึ้น-ลง อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด ทำให้เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าเกิน ไม่มีเบรกเกอร์คอยตัดกระแสไฟ เพื่อหยุดการจ่ายไฟที่อาจทำให้เกิดการลัดวงจรได้ รวมไปถึงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน
การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าและอัคคีภัย
- เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการรับรองจากการทดสอบมาตรฐานผลิดภัณฑ์อุตสาหกรรม และซื้อกับบริษัทขายอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมาตรฐาน
- ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เป็นไปตามหลักความปลอดภัยโดยช่างผู้ชำนาญ
- ตรวจสอบระบบไฟฟ้าสม่ำเสมอ เช่น สวิตซ์ หม้อแปลง เต้าเสียบ ฉนวนสายไฟ เป็นต้น
- บำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยช่างผู้ชำนาญ
- ต่อสายกราวด์ของระบบไฟฟ้า
- ติดตั้งเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ
- ใช้ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดไฟรั่ว
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่อยู่อาศัยทั่วไป หรือตึกอาคารเพื่อธุรกิจ ตลอดไปจนถึงระบบโรงงานขนาดใหญ่ ทุกสถานที่มีการใช้ไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด โดยเฉพาะโรงงานที่มีรูปแบบธุรกิจขนาดใหญ่ การเลือกวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าและการติดตั้งระบบไฟทุกชนิดมีความสำคัญอย่างมาก และควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ด้วยการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ และมีการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน
มาตฐานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง
แบ่งได้ตามประเภทแต่ละอุปกรณ์ มาตรฐานการออกแบบ และการติดตั้ง ดังนี้
- มาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งจะนิยมใช้กันมาก คือ มาตรฐาน IEC ไฟฟ้า โดยสังเกตจากอุปกรณ์ไฟฟ้าจะอ้างอิงมาตรฐานนี้อยู่เสมอ เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ไฟฟ้าแรงสูง จะอ้างอิงมาตรฐาน IEC – 60694 ดังนั้นการออกแบบระบบ รวมถึงข้อกำหนดมาตรฐานไฟฟ้าประเทศไทยจะอ้างอิงจาก มอก.และมาตรฐาน IEC เป็นหลัก
- มาตรฐานการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า
2.1)มาตรฐานไฟฟ้าสากล เช่น EN , IEC , ISO
- มาตรฐาน EN คือ มาตรฐานทางไฟฟ้าของยุโรป (European Standard) เป็นมาตรฐานบังคับ อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดจะต้องได้ตามมาตรฐานนี้ จึงจะสามารถนำมาขายในกลุ่มประเทศสมาชิกได้
- มาตรฐานไฟฟ้าสากล IEC คือ มาตรฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการติดตั้งระบบอุปกรณ์ไฟฟ้า (IEC-60364) ที่ถูกร่างโดยองค์กรระหว่างประเทศ โดยมีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และติดตั้งระบบอุปกรณ์ไฟฟ้า IEC-60364
2.2) มาตรฐานประจำชาติ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นมาใช้ในแต่ะละประเทศในด้านอุตสาหกรรม เพื่อให้ตรงกับการลักษณะการใช้งาน และภูมิประเทศ และสภาพอากาศของสิ่งแวดล้อมในประเทศนั้นๆ เช่น
- มาตรฐาน DIN ไฟฟ้า ของประเทศเยอรมันนี
- มาตรฐาน NEC ของประเทสสหรับอเมริกา
- มาตรฐาน BS ของประเทศอังกฤษ
- มาตรฐาน EIT หรือ วสท. มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าประเทศไทย และ TIS (มอก.) ซึ่งเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
2.3) มาตรฐานของแต่ละหน่วยงาน เป็นการนำมาตรฐานสากลและมาตรฐานประจำชาติ มาประยุกต์ใช้ตามแต่ละโอกาสและความเหมาะสม สำหรับประเทศไทยมีการนำมาตรฐาน IEC มาใช้ทั้งฉบับ เช่นเดียวกับอีกหลายๆประเทศ
ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้ล้วนสำคัญมากเพื่อรับรองความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน ยิ่งปัจจุบันมีการจำหน่ายของลอกเลียนแบบที่จำหน่ายในราคาถูกแต่ไม่มีคุณภาพ หรือติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ใช่ช่างผู้ชำนาญ ดังนั้น จะต้องทำการตรวจสอบทุกครั้งเมื่อจะซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ว่ามีมาตรฐานเหล่านี้ไหม ไม่ว่าจะเป็นการซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้ารูปแบบบ้าน หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับอาคารขนาดใหญ่ หรือโรงงาน โดยเฉพาะยี่ห้อสินค้าที่มีแหล่งการผลิตมีมาตรฐาน และเลือกซื้อกับตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าที่น่าเชื่อถือ เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และมีชื่อเสียงอันดับต้นๆของประเทศไทย อย่าง SQD Group Co., Ltd.ที่เปิดให้บริการและจำหน่ายมาอย่างยาวนาน การันตีถึงคุณภาพและความปลอดภัยของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ลูกค้าไว้วางใจ
สำหรับผู้ประกอบการ นอกจากทรัพย์สิน อาคาร แหล่งสถานธุรกิจเกิดความเสียหายจากไฟไหม้แล้ว อาจยังต้องมีค่าใช้จ่ายที่ต้องชดใช้ให้กับผู้บาดเจ็บและญาติของผู้เสียชีวิต การฟ้องร้องที่ไม่จบสิ้น เหมือนกับเจ้าของกิจการหลายๆคนที่เรามักเห็นตามข่าว เป็นการเสียซ้ำเสียซ้อน ล้มแบบไม่มีโอกาสได้ลุกไปนาน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต จะต้องไม่ประมาทเด็ดขาด เพราะ “ไฟฟ้า” แม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ขณะเดียวกันก็สร้างโทษและความสูญเสียให้มากยิ่งกว่า หากไม่ระมัดระวังในการใช้งาน และมองข้ามถึงความปลอดภัย แม้จะเป็นเพียงสิ่งเล็กๆน้อยๆก็ตาม เพราะอย่าลืมว่า โศกนาฎกรรมเลวร้ายที่เกิดขึ้นในทุกครั้ง ก็มาจากประกายไฟเล็กๆนั่นเอง