ไม่เพียงแต่มนุษย์เท่าที่มี “ไต” เป็นส่วนอวัยวะของร่างกายที่ทำหน้าที่ในการขับถ่ายของเสีย สุนัข ก็มีไตทำหน้าที่ขับถ่ายสิ่งสกปรกออกจากร่างกายเช่นกัน
และถ้าหากไตมีการทำงานผิดปกติ หรือไตเกิดความเสียหาย ก็จะส่งผลต่อร่างกายโดยตรง โดยไม่สามารถที่จะเยียวยาได้ ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทรมานกับสุนัข และลุกลามจนกลายเป็น “โรคไต” ในที่สุด
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสุนัขแสนรักของเราเป็นโรคไต และมีวิธีดูแลสุนัขป่วยโรคไตอย่างไร
โรคไตในสุนัข สาเหตุเกิดจากอะไร
โรคไตของสุนัขเกิดจากที่ไตเกิดความเสียหาย ซึ่งอาจเกิดได้จากการกินอาหารที่ผิดประเภท ทำให้ไตทำงานหนักในการย่อยอาหารมาอย่างสะสม และอีกสาเหตุของโรตไตในสุนัขคือสุนัขมีอายุมาก หากสุนัขเป็นโรคไตแล้วจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ต้องดูแลและเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะเนื่องจากระบบการทำงานของไตสุนัขไม่สามารถทำงานได้ปกติแล้ว และจะส่งผลต่อระบบอวัยะอื่น ๆ ทำให้เขาควบคุมร่างกายบางส่วนไม่ได้อย่างเช่นที่ผ่านมา เจ้าของจึงควรใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษอย่างใจเย็น โดยเฉพาะอาหารการกิน
“โรคไต” ถือว่าเป็นโรคที่น่ากลัวสำหรับสัตว์เลี้ยงทุกชนิด ทั้งน้องหมา น้องแมว เพราะกว่าจะสามารถเห็นอาการของโรคได้เด่นชัด ก็ต่อเมื่อการทำงานของไตถูกทำลายไปแล้วกว่า 75% ดังนั้นการควบคุมดูแลอาหารกินของสัตว์เลี้ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของควรให้ความสำคัญตั้งแต่ยังไม่ป่วย และเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมถึงมีข้อกำจัดอาหารที่ไม่ควรให้สุนัขกิน และการตรวจพบโรคเร็วที่สุด จะช่วยบรรเทาอาการหนักให้เป็นเบาได้ และสุนัขยังคงดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข แม้จะมีปัญหาโรคไต (จึงเป็นอีกเหตุผลเช่นเดียวกันที่ทำไมควรพาสุนัขไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะสุนัขที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี)
สัญญาณเตือน โรคไตในสุนัข
หากมีอาการดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าน้องหมากำลังป่วยเป็นโรคไต หากพบอาการเพียง 1-2 ของทั้งหมด อย่าวางเฉย แต่ควรรีบพาไปพบสัตว์แพทย์ทันที เพื่อให้ได้รับการตรวจและวินิจฉัยอย่างละเอียด หากเข้าข่ายโรคไตจะได้รักษาได้ทันท่วงที
- กระหายน้ำและปัสสาวะมากขึ้น
- ไม่อยากอาหาร หรือกินน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
- เจ็บปาก
- อ่อนเพลีย
- ซืมเศร้า
- น้ำหนักลด ซูบ ผอมลง
- ลมหายใจเหม็น
- อาเจียนและท้องเสีย
- อิดโรย ง่วงซึม และนอนมากขึ้น
- ขนหยาบกระด้างกว่าเดิม
โรคไตในสุนัขและแมวมักเป็นสาเหตุของการตายมากกว่าโรคอื่น ๆ โดยโรคไตแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน
1. โรคไตวายเฉียบพลัน
ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของระบบในร่างกายอย่างรวดเร็ว ได้แก่
- เสียเลือดมาก
- ช็อก
- ขาดน้ำอย่างรวดเร็ว
- ความเครียด
- ไตวายเฉียบพลัน
- ผลข้างเคียงจากยา
- ได้รับสารที่เป็นพิษต่อไต
- ได้รับการกระทบกระเทือน เช่น อุบัติเหตุ
2. ไตวายเรื้อรัง
ไตวายเรื้อรังเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความเสียหายของไตจากการสะสม หรืออาจเกิดขึ้นหลังจากมีภาวะไตวายเฉียบพลันที่ไม่ได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ และรวมไปถึงการได้รับอาหารที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของสุนัข
อาการโรคไตสุนัข
อาการของโรคไตจะส่งสัญญาณให้เห็นได้ชัดเมื่อ 2 ใน 3 ของเนื้อเยื่อไตถูกทำลาย จนของเสียในร่างกายไม่สามารถถูกขจัดออกไปได้ ก็จะสะสมอยู่ในกระแสเลือด และส่งผลต่อสุนัขจนสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้
- น้ำหนักลด
- เบื่ออาหาร
- ซึม
- ไม่ปัสสาวะ
- อาเจียน
- ขนร่วงผิดปกติ
- เหงือกซีด
- ท้องเสีย
นอกจากสุนัขโรคไตไม่กินอาหาร ไม่กินน้ำ อาจมีค่าไตจากการตรวจเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือค่าไตเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งค่าไตที่เพิ่มขึ้นนี้ก็อาจสืบเนื่องมาจากโรคอื่นได้เช่นกัน
ไตวายเฉียบพลันมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นเหตุให้สุนัขตายได้ แต่ถ้ามีการดูแลและรักษาได้ทัน ก็สามารถควบคุมความรุนแรงของโรคได้ และถ้าได้รับการรักษาเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง อาจมีโอกาสที่ไตจะกลับมาทำงานได้จนเกือบปกติและสามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน
การรักษาสุนัขโรคไต
โรคไตในสุนัข รักษาอย่างใกล้ชิดจากสัตว์แพทย์ เนื่องจากจะต้องมีการตรวจเลือดเป็นระยะ เพื่อประเมินการทำงานของไต และเมื่อสุนัขมีอาการดีขึ้น หรือเมื่อแพทย์พิจารณาให้พากลับไปดูแลที่บ้านได้ เจ้าของสุนัขจะต้องทำการดูแลและเอาใจใส่เป็นพิเศษ สุนัขจะต้องได้รับอาหารและยารักษาอย่างเหมาะสม เนื่องจากสุนัขโรคไตไม่กินอาหาร จึงต้องบังคับป้อนและควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้สุนัขได้มีแรงกำลัง สำหรับเจ้าของที่ทำการดูแลด้วยตนเอง อาจใช้วิธีบังคับป้อน ใช้ไซริงค์ดูดสารอาหารมาป้อนที่กระพุ้งแก้ม แม้ว่าสุนัขจะมีการคายหรือมีบ้วนออกมาเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็จะมีอาหารบางส่วนได้ไหลลงไปในคอ ซึ่งผู้ป้อนจะต้องใจเย็นมากพอ และขยันที่จะป้อนให้บ่อยครั้ง เพื่อให้ร่างกายของน้องหมาได้รับสารอาหาร
การดูแลสุนัขโรคไต
สุนัขที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังมีโอกาสรอดชีวิตสูงกว่าสุนัขโรคไตวายเฉียบพลันแต่ไม่ได้รักการรักษาทันที สุนัขที่เป็นโรคไต จึงควรมีการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ และการดูแลของเจ้าของตามคำแนะนำของสัตว์แพทย์อย่างเคร่งครัด โดยที่เจ้าของสามารถดูแลสัตว์ป่วยโรคไตได้เองดังต่อไปนี้
- จัดให้มีน้ำสะอาดดื่มตลอดเวลา หากสุนัขไม่มีแรงดื่มน้ำเอง จะต้องคอยป้อนบ่อย ๆ
- หลีกเลี่ยงไม่ให้สุนัขเครียด
- จำกัดการออกกำลังกาย
- พาพบสัตว์แพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
- ดูแลเรื่องอาหารเป็นพิเศษ ให้กินอาหารสุนัขโรคไตเท่านั้น (K/D)
หากเจ้าของต้องการจะปรุงอาหารให้น้องหมาโรคไต ก็สามารถปรุงเองได้ง่าย ๆ ที่บ้าน โดยเรามีอาหารสูตรโรคไตและสามารถใช้เป็นสูตรอาหารสำหรับสุนัขที่อายุมาก เพื่อป้องกันไม่ให้ไตทำงานหนัก
สูตรอาหารสุนัขโรคไต / ไตวาย
ใช้ข้าวขาว 100% ผสมกับมันฝรั่งต้ม หรือมันฝรั่งนึ่ง เนื้อปลาน้ำจืด หรือเนื้อไก่ 1 ช้อนโต๊ะ และไข่ไก่เบอร์ 0 (เพราะมีปริมาณไข่แดงน้อย) ครั้งละ 1 ฟอง
ห้ามใช้น้ำแกงกระดูกหมูคลุกเคล้าอาหารให้หมาโรคไตเด็ดขาด
ห้ามใช้เครื่องปรุงรสใด ๆ ในการทำอาหารให้น้องหมาป่วยโรคไตเด็ดขาด
วิธีทำอาหารให้สัตว์เลี้ยงโรคไต
- นำเนื้อปลาหรือเนื้อไก่ 1 ช้อนโต๊ะ ไปผัดให้หอม
- ต้มหรือนึ่งมันฝรั่ง 1 ลูก / 2 มื้ออาหาร
- ต้มไข่ไก่เบอร์ 0 ต้ม 1 ฟอง / 1 มื้ออาหาร
- ข้าวขาวหุงสุก 1 ชามข้าว
- นำข้อ 1 – 4 ผัดรวมด้วยกันให้หอม
สามารถเสริมด้วย
- แคลเซียมคาร์บอเนต 600 มิลลิกรัม (ซื้อได้ที่โรงพยาบาลสัตว์หรือร้านขายยา)
- บดวิตามิน – แร่ธาตุเสริม ½ เม็ด (เช่น เซ็นทรัม หรือ แบลคมอรส์ มัลติวิตามิน) ใส่ในอาหารหลังจากปรุงสุกแล้ว
ห้ามใช้แคลเซียมที่เป็นอาหารเสริมทั่วไปของสุนัขเด็ดขาด