จากงานวิจัยใหม่พบว่าคนที่สูบบุหรี่อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าและโรคจิตเภทมากขึ้น
ทำไมการสูบบุหรี่จึงสามารถก่อให้เกิดอาการทางจิตได้?
ไบรอัล บาร์เน็ต จิตแพทย์ที่ศูนย์พฤติกรรมสุขภาพที่คลีฟแลนด์คลินิก กล่าวว่า ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าเหตุใดการสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสในการป่วยทางจิตได้ แต่เขาคิดว่า การสูบบุหรี่และสูดดมนิโคตินเข้าไป มันจะกระตุ้นตัวรับสารสื่อประสาท acetylcholine ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่การปลดปล่อยโดปามีนและเซโรโทนิน และเนื่องจากระบบโดปามีนเนอร์จิก มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับโรคจิตเภท จึงอาจเป็นไปได้ว่านิโคตินหรือส่วนประกอบอื่นๆ ในบุหรี่อาจขัดขวางการทำงานของโดปามีนในสมองซึ่งอาจนำไปสู่โรคจิตเภทได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม แพทย์สั่งหรือแนะนำบุหรี่สำหรับผู้ที่เป็นโรคจิตเภทเมื่อ 50 หรือ 60 ปีก่อน และบาร์เน็ตเสริมอีกว่า “ผู้ป่วยพบว่าการสูบบุหรี่ช่วยบรรเทาอาการบางอย่างได้ แต่เห็นได้ชัดว่าเราไม่แนะนำสิ่งนั้นอีกต่อไป”
โดยทีมนักวิจัยที่นำโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบริสตอลในสหราชอาณาจักรเชื่อว่าการสูบบุหรี่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต ซึ่งได้จากหลักฐานที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
แทนที่จะมองว่าผู้สูบบุหรี่มีความโน้มต่อภาวะซึมเศร้าหรือโรคจิตเภทหรือไม่ นักวิจัยได้ใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลของการสูบบุหรี่
Robyn Wootton หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่า “บุคคลที่ป่วยเป็นโรคทางจิตมักถูกมองข้ามในความพยายามที่จะลดบุหรี่”
“งานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าเราควรพยายามทุกวิถีทางที่จะป้องกันการเริ่มสูบบุหรี่และสนับสนุนให้เลิกสูบบุหรี่เนื่องจากจะมีผลที่ตามมาต่อสุขภาพจิตใจและสุขภาพร่างกาย”
โดยนักวิทยาศาสตร์ศึกษาข้อมูลจากชายชาวยุโรป 462,690 คน โดยใช้วิธีการที่เรียกว่าการสุ่มแบบเมนเดเลียน (คือจะไม่เกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรม) สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการระบุความผันแปรทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับลักษณะเฉพาะ เช่น ภาวะซึมเศร้าหรือโรคจิตเภท จากนั้นจึงทดสอบความผันแปรเหล่านั้นกับการใช้สิ่งของ เช่น การสูบบุหรี่ในกลุ่มตัวอย่าง
ซึ่งเหตุนี้ทำให้นักวิจัยตรวจสอบว่าความเกี่ยวข้องนี้เป็นสาเหตุหรือไม่
โดยนักวิจัยได้สรุปว่าในขณะที่สูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและโรคจิตเภท เพราะว่าผู้ป่วยเหล่านั้นก็มีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตว่าความสัมพันธ์อาจไม่เกี่ยวข้องกับโรคจิตเภทเท่าโรคซึมเศร้า โดยเหล่านักวิจัยยังพบว่าการสูบบุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอารมณ์สองขั้วได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม อีกหนึ่งวิจัยในวารสาร Psychological Medicine เดวิด เคอร์ทิส จิตแพทย์ที่ปรึกษาเกษียณและศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ที่ University College London และ Queen Mary University of London ได้ตีความผลสรุปอีกแบบนึง
โดยเคอร์ติสกล่าวว่า เขาไม่คิดว่ามันเป็นไปได้ที่การสูบบุหรี่จะส่งผลโดยตรงต่อสมอง เพื่อเพิ่มแนวโน้มความเสี่ยงต่อโรคจิตเภท แต่ ผลลัพธ์น่าจะแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของมารดาที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคจิตเภท
ดังนั้น สิ่งที่เราน่าจะเห็นกันก็คือมารดาของผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตเภทมีความเสี่ยงสูง โดยการสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงที่เด็กจะเป็นโรคจิตเภท เคอร์ติสยังเสริมอีกว่า “แน่นอนว่ามารดาที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ จะส่งผลต่อความเสี่ยงทางพันธุกรรมเพิ่มขึ้นให้กับเด็กเหล่านั้น”
จากสถิติแล้ว ทั่วโลกมีผู้ป่วยทางจิตเสียชีวิตเยอะกว่าประชากรทั่วไปถึง 20 ปี ก่อนหน้า ตามรายงานของ Lancet Psychiatry Commission ที่เผยแพร่เมื่อเดือนกรกฎาคม และในเดือนมกราคมในปี 2018 โดยผลการศึกษาสรุปว่าการใช้กัญชาหรือบุหรี่ อย่างใดอย่างหนึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นของอาการทางจิตในวัยรุ่น โรคจิตอธิบายสภาพจิตใจของการสูญเสียการสัมผัสกับความเป็นจริงเช่นประสบภาพหลอนหรือภาพลวงตา
ผลการวิจัยชี้ว่าการสูบบุหรี่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพมากกว่า
บาร์เน็ตกล่าวว่า บ่อยครั้งที่ส่วนใหญ่ผู้คนไม่กังวลเกี่ยวกับการสูบบุหรี่เหมือนที่พวกเขากังวลเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดประเภทอื่น เนื่องจากผลกระทบด้านลบ เช่น มะเร็งปอดหรือปัญหาหัวใจ อาจดูเป็นเหมือนเรื่องไกลตัว
โดยจากงานวิจัยนี้ เห็นได้ชัดว่าจะพบในผู้ป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นหรือวัยประมาณ 20 ปี ว่าการสูบบุหรี่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคจิตเภทหรือภาวะซึมเศร้าได้ “สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้เร็วกว่ามาก และเป็นความผิดปกติที่สามารถระบุได้เป็นครั้งแรกเมื่อบุคคลอยู่ในวัยรุ่นหรือช่วงวัยยี่สิบปี” เขากล่าว ซึ่งอาจช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยเลิกบุหรี่ได้
จากรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค อาการป่วยทางจิตเช่นภาวะซึมเศร้าเป็นสาเหตุอันดับ 3 ของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยมีอายุตั้งแต่ 18 – 44 ปี โดยคนที่ป่วยด้วยอาการป่วยทางจิตขั้นรุนแรงเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่มีสุขภาพดีโดยเฉลี่ยถึง 25 ปี
เรารู้อยู่แล้วว่าเราไม่ควรสูบบุหรี่เนื่องจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย และการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการสูบบุหรี่ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต และเน้นย้ำถึงความสำคัญที่ไม่ควรสูบบุหรี่ อีกทั้งการวิจัยนี้ยังตอกย้ำแนวคิดที่ว่าผู้ที่ป่วยทางจิตซึ่งผู้คนที่ติดการสูบบุหรี่ ควรได้รับคำแนะนำและการสนับสนุนเพื่อจะเลิกสูบบุหรี่